
ข่าวประชาสัมพันธ์ การประชุมครั้งที่ 1
การประชุมรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 1 (ปฐมนิเทศโครงการ) โครจการศึกษาความเหมาะสมสะพานเชื่อมข้ามลำน้ำน้ำพอง และถนนต่อเชื่อมแยก ทล.2133 – นภ.3002 จ.ขอนแก่น, หนองบัวลำภู
ด้วยคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก จ.ขอนแก่น (อจร.จ.ขอนแก่น) และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของจังหวัดหนองบัวลำภู (กรอ.) มอบหมายให้กรมทางหลวงชนบท ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของการก่อสร้างสะพานข้ามลำน้ำพอง เพื่อเชื่อมการเดินทางระหว่างจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งปัจจุบันการเดินทางของราษฎรในพื้นที่ต้องใช้ระยะทางในการเดินทางข้ามไปยังทั้ง 2 ฝั่ง ประมาณ 40 กิโลเมตร หรือระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อเดินทางมายังศูนย์ราชการ เช่น การเจ็บป่วยที่ต้องการไปโรงพยาบาล โรงเรียน ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการเดินทาง และไม่สามารถเดินทางได้ในทันที ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวทั้งหมด สามารถบรรเทาได้โดยการก่อสร้างสะพานเชื่อมข้ามลำน้ำพองและถนนต่อเชื่อม แยก ทล.2133 – นภ.3002 จ.ขอนแก่น, หนองบัวลำภู ซึ่งหากโครงการแล้วเสร็จ จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง พัฒนาและต่อเติมโครงข่ายทางหลวงชนบทให้สมบูรณ์ด้วยการเป็นทางลัด (By Pass) ทางเลี่ยง (Shortcut) ทางเชื่อม (Missing Link) ระหว่างอำเภอ ช่วยให้การเดินทางของประชาชน นักท่องเที่ยว และผู้ใช้รถใช้ถนน เกิดความสะดวกและปลอดภัยในการสัญจร ลดระยะเวลาและระยะทางในการเดินทาง นอกจากนี้ยังเป็นเส้นทางที่ใช้ในการอพยพ เคลื่อนย้าย หรือเข้าให้ความช่วยผู้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
๑) เพื่อดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจและการลงทุน สังคมและสิ่งแวดล้อม
๒) เพื่อศึกษาคัดเลือกแนวสายทาง และ/หรือรูปแบบโครงการเบื้องต้นที่เหมาะสม ศึกษาความคุ้มค่า
ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน และศึกษาผลกระทบด้านสังคม สิ่งแวดล้อมเบื้องต้น และการใช้ประโยชน์ที่ดิน พร้อมทั้งออกแบบเชิงหลักการ
๑) เพื่อเชื่อมการเดินทางระหว่างจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดหนองบัวลำภู
๒) เพื่อลดระยะเวลาในการเดินทาง ไปยังศูนย์ราชการต่างๆ
๓) เพิ่มขีดความสามารถของโครงข่ายคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างสองจังหวัด และสามารถรองรับปริมาณจราจรปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทาง
ของประชาชน
๔) รองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งในด้านการท่องเที่ยว การพัฒนาด้านระบบโลจิสติกส์ ความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น
โครงการศึกษาความเหมาะสมสะพานเชื่อมข้ามลำน้ำพองและถนนต่อเชื่อมแยก ทล.2133 – นภ.3002
จ.ขอนแก่น, หนองบัวลำภู ตั้งอยู่ที่ อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น และอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู จุดเริ่มต้นโครงการต่อเชื่อมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2133 ช่วง กม. 23+300 และกม. 23+800 บริเวณบ้านขนวน ตำบลขนวน อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น จุดสิ้นสุดโครงการ ต่อเชื่อมกับทางหลวงชนบทหมายเลข นภ.3002 ช่วง กม. 8+500 ถึง 9+800 บริเวณบ้านม่วงชุม บ้านโนนสว่าง ตำบลโนนเมือง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู
๑) งานรวบรวมและศึกษาข้อมูลแนวถนนโครงการ รวมทั้งบริเวณที่มีผลกระทบกับถนนโครงการ
๒) งานสำรวจพื้นที่โครงการเบื้องต้น
๓) งานศึกษาผลกระทบทางด้านวิศวกรรมจราจรบริเวณถนนโครงการและส่วนต่อเนื่อง
๔) งานสำรวจและจัดเก็บข้อมูลด้านการจราจรพร้อมการคาดการณ์ปริมาณจราจร
๕) งานจัดทำแนวสายทาง และ/หรือ รูปแบบโครงการเบื้องต้น
๖) งานจัดการประชาสัมพันธ์โครงการ
๗) งานรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน
๘) การนำเสนอผลการคัดเลือกแนวสายทาง และ/หรือ รูปแบบโครงการที่เหมาะสม
๙) งานศึกษาผลกระทบด้านสังคมและการใช้ประโยชน์ที่ดิน
๑๐) งานออกแบบเชิงหลักการ (Conceptual Design)
๑๑) การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๑๒) การประมาณราคาค่าก่อสร้างเบื้องต้น
๑๓) การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางด้านการลงทุนและค่าความเสี่ยงในการลงทุน
๑๔) งานอื่น ๆ ที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาของโครงการ
โครงการมีขั้นตอนในการดำเนินงาน ดังแสดงในรูปที่ 2
โครงการศึกษาความเหมาะสมสะพานเชื่อมข้ามลำน้ำพองและถนนต่อเชื่อมแยก ทล.2133 – นภ. 3002 จ.ขอนแก่น, หนองบัวลำภู ได้ให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการหรือได้รับการชี้แจงข้อมูลในกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต
หรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับคนในท้องถิ่น โดยมีกิจกรรมในการดำเนินงาน ดังนี้
๑. ประชาสัมพันธ์โครงการ
โดยทำการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น เอกสารประกอบการประชุม แผ่นพับ โปสเตอร์ปิดประกาศเชิญประชุม ชุดบอร์ดนิทรรศการเคลื่อนที่และสรุปผลการจัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นแต่ละครั้ง รวมถึงการกระจายข้อมูลผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ เสียงตามสายของชุมชน หรือแจ้งผ่านผู้นำท้องถิ่น
๒. ประชุมรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 1 (ปฐมนิเทศโครงการ)
เพื่อนำเสนอข้อมูลความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ แผนการดำเนินงาน การนำเสนอแนวทางในการออกแบบ และแผนการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ประชาชนผู้สนใจโครงการตลอดจนรับฟังความคิดเห็นจากที่ประชุมที่มีต่อแนวทางในการออกแบบและการจัดทำแนวเส้นทางของโครงการ ข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะอื่นๆ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการออกแบบรายละเอียดต่อไป
๓. ประชุมรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 2 (กลุ่มย่อย)
เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินงาน ข้อมูล รูปแบบการออกแบบถนน แนวทางเลือกและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อโครงการเพื่อนำไปปรับปรุงการดำเนินการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
๔. ประชุมรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 3 (ปัจฉิมนิเทศโครงการ)
เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานทั้งหมด การเสนอร่างผลการออกแบบถนน ทางแยกต่างระดับแนวเส้นทางที่ได้ทำการออกแบบ ผลการศึกษาด้านสังคมและการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมถึงร่างมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ผลการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อนำไปปรับปรุงเพิ่มเติมให้รูปแบบก่อสร้างมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ในการจัดประชุมแต่ละครั้ง ผู้แทนกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจะเข้าดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโครงการแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับทราบข้อมูลข่าวสารโครงการฯ อย่างทั่วถึงตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการ กรอบระยะเวลาเบื้องต้นของแผนการดำเนินงาน
ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังแสดงในตารางที่ 1
การดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
ที่ปรึกษาเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2567 ถึง วันที่ 1 กันยายน 2568 รวมระยะเวลา 270 วัน
การประชุมรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 1 (ปฐมนิเทศโครงการ) โครจการศึกษาความเหมาะสมสะพานเชื่อมข้ามลำน้ำน้ำพอง และถนนต่อเชื่อมแยก ทล.2133 – นภ.3002 จ.ขอนแก่น, หนองบัวลำภู
9 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220
โทรศัพท์ : 02-551-5424 โทรสาร 02-551-5431
สายด่วนทางหลวงชนบท โทรศัพท์ 1146
© 2025 All Rights Reserved. DEPARTMENT OF RURAL ROADS